
อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยหนุ่มสาว จากการคาดการณ์ หากไม่มีมาตรการรองรับแล้ว ในปีหน้า (พ.ศ. 2545) ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จะพุ่งขึ้นสูงถึงกว่า 3 คนต่อชั่วโมง (มากกว่า 2.6 หมื่นคนต่อปี) และเป็นที่น่าเศร้าว่าสาเหตุส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ที่มีอาการเมาสุรา จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแอลกอฮอลในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุพบว่า ผู้ที่มีแอลกอฮอลในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัม% จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าผู้ไม่ดื่มสุราถึง 2 เท่า และหากสูงถึง 100 มิลลิกรัม% โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นถึง 6 เท่า โครงการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” จึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนอันเนื่องมาจากผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะในขณะที่มึนเมา หนึ่งในมาตรการตามโครงการนี้คือการตั้งด่านตรวจระดับแอลกอฮอลในเลือดของผู้ขับขี่ เพื่อให้ทราบว่าผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่จะสามารถ ขับขี่ยวดยานพาหนะต่อไปได้อีกหรือไม่
การตรวจระดับแอลกอฮอลในเลือดมีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจวัดทางลมหายใจ ตรวจวัดจากเลือด หรือจากปัสสาวะ ในทั้ง 3 วิธีนี้ วิธีการตรวจวัดทางลมหายใจเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากทำได้สะดวกรวดเร็วและสามารถทราบผลได้ทันที การตรวจวัดระดับแอลกอฮอลจากลมหายใจ อาศัยหลักที่ว่า เมื่อกระแสเลือดไหลไปที่ปอดเพื่อฟอกเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย แอลกอฮอลในกระแสเลือดบางส่วนจะซึมผ่านเข้าไปในปอดด้วย ระดับของแอลกอฮอลในปอดจะสัมพันธ์โดยตรงกับระดับแอลกอฮอลในเลือด เมื่อหายใจออกแอลกอฮอลจะถูกขับออกมาจากปอดเช่นเดียวกัน
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :: http://www.material.chula.ac.th/RADIO44/september/radio9-1.htm
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ (2) ในขณะเมาสุรา หรือเมาอย่างอื่น
มาตราที่ 160 วรรคสาม ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
*ในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการในการตรวจจับผู้ขับขี่ที่เมาสุรา โดยถือเอาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุรา
นอกจากนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา หากท่านเมาสุราแล้วไปขับรถ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 300) และถ้าหากผู้อื่นถึงแก่ความตาย ด้วยผลแห่งการเมาสุราแล้วขับของท่าน กฎหมายมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา 291)
คุณดื่มได้แค่ไหนก่อนขับรถ ?
ใน 1 ชั่งโมงก่อนขับรถ หากหลีกเลี่ยงการดื่มไม่ได้ ไม่ควรดื่มเกินกว่านี้
|
– สุรา 6 แก้ว ผสมสุราแก้วละ 1 ฝา (ฝาขวดสุรา) |
|
– เบียร์ปกติ 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก |
|
– ไลท์เบียร์ 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก |
สำหรับในชั่วโมงต่อไป คุณดื่มได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เท่านั้น หากดื่มในปริมาณมากกว่านี้จะมีระดับแอลกอฮอล์สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด (มากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
ข้อแนะนำในการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสุรา
– เมื่อดื่มสุราไม่ควรขับรถเอง ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มสุราขับรถให้
– ใช้บริการรถแท็กซี่ เมื่อดื่มสุรา
– เมื่อดื่มสุรา ไม่ควรขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด
credit :: http://www.rvp.co.th/knowledge/SaftyDriving/indexalcohol.htm